คำนวณการประหยัดค่าไฟฟ้า
สูตร Q = UAT
Q = สัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อน
U = สัมประสิทธิ์การถ่ายความร้อน
A = พื้นที่การถ่ายเทความร้อน
T = อุณหภูมิห้อง
ตัวอย่าง ห้องนอนกว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 1 ห้อง
ขนาดห้องกว้าง 5 เมตร x ยาว 6 เมตร = พื้นที่ 30 ตร.ม.
สูตรการคำนวณหา Btu ของแอร์ = 800 x กว้าง x ยาว = 800x5x6
ห้องนี้ต้องใช้แอร์ขนาด = 24,000 Btu เป็นอย่างน้อย
คำนวณโดยการเปรียบเทียบระหว่างฉนวนใยแก้ว กับ PU FOAM
ค่า U ของฉนวนใยแก้วหุ้มฟอยล์ ที่ความหนา 2 นิ้ว เท่ากับ 0.038 Btu/tf2hf
ค่า U ของฉนวน PU FOAM ที่ความหนา 1 นิ้ว เท่ากับ 0.137 Btu/tf2hf
อุณหภูมิในการทดสอบ อยู่ที่ 4 องศาเซลเซียส
ห้องที่ใช้ใยแก้วปูที่เพดานห้องห้องที่ฉีดด้วยฉนวน PU FOAM
สูตร Q = UATสูตร Q = UAT
Q = 0.038x24,000x40Q = 0.137x24,000x40
Q = 36,480 BtuQ = 13,152 Btu
เปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อน ระหว่างฉนวนใยแก้ว กับ PU FOAM 36,480-13,152 = 23,328 Btu.h.
แสดงว่า PU FOAM มีค่าสัมประสิทธิ์ ต่ำกว่า ฉนวนใยแก้ว 23,328 Btu.h.
หมายเหตุ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12,560 Btu ดังนั้น 23,328/12,560 = 1.86 ตันความเย็น
การใช้ฉนวน PU FOAM สามารถลดขนาดของเครื่องปรับอากาศได้ 1.86 ตันความเย็น
เครื่องปรับอากาศ 1 ตัน ใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าประมาณ 1.25 kw. ปัจจุบันค่าไฟฟ้า KWH ละ 3.75 บาท
กรณีเปิดเครื่องปรับอากาศ 8 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายดังนี้
กรณีใยแก้ว 36,480/12,560 = 2.91 ตันความเย็น
2.91 x 1.25 x 3.75 x 8 = 109.13 บาท หรือ 13.65 บาท/ชั่วโมง
กรณี PU FOAM 13,152/12,560 = 1.05 ตันความเย็น
1.05 x 1.25 x 3.75 x 8 = 39.38 บาท หรือ 4.93 บาท/ชั่วโมง
การเปิดเครื่องปรับอากาศโดยมีใยแก้วเป็นฉนวน วันละ 8 ชั่วโมงทุกวัน 1 ปี จะมีค่าไฟฟ้าประมาณ
109.13 x 365 = 39,832.45 บาท
การเปิดเครื่องปรับอากาศโดยมี PU FOAM เป็นฉนวน วันละ 8 ชั่วโมงทุกวัน 1 ปี จะมีค่าไฟฟ้าประมาณ
39.38 x 365 = 14,373.70 บาท
สรุป การใช้ PU FOAM เป็นฉนวนกันความร้อน สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าเครื่องปรับอากาศ
ห้องที่ใช้ PU FOAM สามารถลดปริมาณ Btu ของแอร์ลง 23,328 Btu คิดค่าแอร์ 20,000 Btu ที่ราคา 50,000 บาท
ดังนั้น จึงเป็นค่าแอร์เท่ากับ 50,000 x23,328 / 20,000 = 58,320 บาท
2. ค่าไฟฟ้า
หากเปิดแอร์เป็นประจำทุกวัน ๆ ละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 ปี PU FOAM จะประหยัดค่าไฟฟ้าเท่ากับ
39,832.45-14,373.70 = 25,458.75 บาท
APPLICATION OF WORKS
Polyurethane Foam คือ Cellular Plastic เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งในปัจจุบัน
Rigid Polyurethane Foam เป็นการนำสารเคมี 2 ชนิด คือ Component A แและ Component B
มาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม
การผสมจะเกิดปฎิกิริยาของความร้อน ซึ่งจะกลายเป็นละออง เป็นเหตุให้โฟมขยายตัวถึง 30 เท่า โดยปกติความหนาแน่นของเนื้อโฟมจะอยู่ระหว่าง ไม่น้อยกว่า 35 Kg/m3 แล้วข้อดีคือจะติดสนิทเป็นเนื้อเดียวกันตลอด การยึดเกาะติด และมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำ จึงเป็นการดีเยี่ยมที่จะเป็นฉนวนกันความร้อน
Polyurethane Foam มีลักษณะเป็นโพรงอากาศเล็กๆ มากมายซึ่งเป็น Closed Cell ทำให้อากาศอยู่นึ่งทนต่ออากาศทุกฤดูกาล ทั้งยังมีน้ำหนักเบา ไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุการใช้งาน ไม่หลุดล่อนและไม่มีรอยต่อ และไม่กลัวมอด ปลวก
ระบบ Spray Foam อุปกรณ์หลักที่ใช้งานมี
- Pump ลมสำหรับจ่ายน้ำยา
- เครื่อง Spray Foam ระบบ High Pressuer
- สายส่งน้ำยา
- ปีน Mix น้ำยา Spray ระบบ Self Cleaning
- Compressor
- อุปกรณ์อื่นๆ เช่น นั่งร้าน สายไฟ อุปกรณ์กันเลอะ ฯลฯ
ส่วนผสมและวิธีการเตรียมพื้นผิว
ส่วนผสมน้ำยาที่ใช้ คือ Component A แและ Component B อัตราส่วน 1:1 ส่วน